ขั้นตอนของการปิดบัญชี
1. บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
2. ผ่านรายการปิดบัญชีจากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
3. ปิดบัญชีต่าง ๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยหายอดคงเหลือยกไปและยกมา
4. จัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการปิดบัญชี
ขั้นตอนที่ 1 การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป
ในการบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปนี้ มีรายการที่จะต้องบันทึกรายการปิดบัญชีทั้งสิ้น 4 รายการ คือ
รายการที่ 1 การบันทึกรายการปิดบัญชีหมวดรายได้
บัญชีหมวดรายได้ มียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเครดิต ดังนั้นในการปิดบัญชีหมวดรายได้ ก็จะทำการบันทึกบัญชีโดยเดบิตบัญชีหมวดรายได้ เพื่อที่จะปิดบัญชีให้ยอดคงเหลือของบัญชีหมวดรายได้เป็นศูนย์ และจะปิดบัญชีหมวดรายได้ไปเข้าบัญชีที่มีชื่อว่า “กำไรขาดทุน” โดยการเครดิตบัญชี “กำไรขาดทุน” ดังนั้นในการบันทึกรายการปิดบัญชีหมวดรายได้ จึงสามารถบันทึกบัญชีได้โดย
รายได้ XX
กำไรขาดทุน XX
ตัวอย่าง หากในงบทดลอง ปรากฏว่ามีบัญชีหมวดรายได้ ดังนี้
รายได้ค่าเช่า 120,000 บาท
ดอกเบี้ยรับ 5,000 บาท
รายได้อื่น ๆ 500 บาท
การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกได้โดย
สมุดรายวันทั่วไป
|
หน้า 20
| ||||||
วันที่
|
รายการ
|
เลขที่บัญชี
|
เดบิต
|
เครดิต
| |||
2545
| |||||||
ธ.ค.
|
31
|
รายได้ค่าเช่า
|
401
|
120,000
|
-
| ||
ดอกเบี้ยรับ
|
402
|
5,000
|
-
| ||||
รายได้อื่น ๆ
|
403
|
500
|
-
| ||||
กำไรขาดทุน
|
300
|
125,500
|
-
| ||||
ปิดบัญชีหมวดรายได้
|
รายการที่ 2 การบันทึกรายการปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย
บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย มียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเดบิต ดังนั้นในการปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย ก็จะทำการบันทึกบัญชีโดยเครดิตบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะปิดบัญชีให้ยอดคงเหลือของบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายเป็นศูนย์ และจะปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายไปเข้าบัญชีที่มีชื่อว่า “กำไรขาดทุน” โดยการเดบิตบัญชี “กำไรขาดทุน” ดังนั้นในการบันทึกรายการปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย จึงสามารถบันทึกบัญชีได้โดย
กำไรขาดทุน XX
ค่าใช้จ่าย XX
ตัวอย่าง หากในงบทดลอง ปรากฏว่ามีบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย ดังนี้
ค่าเช่า 20,000 บาท
เงินเดือนและค่าจ้าง 30,000 บาท
ดอกเบี้ยจ่าย 7,500 บาท
ค่าโฆษณา 2,500 บาท
การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกได้โดย
สมุดรายวันทั่วไป
|
หน้า 20
| ||||||
วันที่
|
รายการ
|
เลขที่บัญชี
|
เดบิต
|
เครดิต
| |||
2545
| |||||||
ธ.ค.
|
31
|
กำไรขาดทุน
|
300
|
60,000
|
-
| ||
ค่าเช่า
|
501
|
20,000
|
-
| ||||
เงินเดือนและค่าจ้าง
|
502
|
30,000
|
-
| ||||
ดอกเบี้ยจ่าย
|
503
|
7,500
|
-
| ||||
ค่าโฆษณา
|
504
|
2,500
|
-
| ||||
ปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย
|
รายการที่ 3 การบันทึกรายการปิดบัญชี “กำไรขาดทุน”
หลังจากที่รายการที่ 1 ปิดบัญชีหมวดรายได้เข้าบัญชี “กำไรขาดทุน” และรายการที่ 2ปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชี “กำไรขาดทุน” แล้ว ส่งผลให้บัญชีหมวดรายได้และบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายหมดไป ยอดคงเหลือกลายเป็นศูนย์ แต่กลับมียอดคงเหลือของบัญชีอีกบัญชีหนึ่งขึ้นมาแทน คือบัญชี “กำไรขาดทุน” ดังนั้นรายการต่อไปที่จะต้องปิดบัญชีหลังจากปิดบัญชีหมวดรายได้และบัญชีหมวดค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะต้องปิดบัญชี “กำไรขาดทุน” ด้วย
ในการปิดบัญชี “กำไรขาดทุน” นั้น จะบันทึกบัญชีอย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ายอดคงเหลือของบัญชี “กำไรขาดทุน” นั้นมียอดคงเหลืออยู่ทางด้านใด โดยหากกิจการมีผลการดำเนินงานที่มีกำไร ยอดคงเหลือของบัญชี “กำไรขาดทุน” ก็จะอยู่ทางด้านเครดิต หากจะปิดบัญชี“กำไรขาดทุน” ก็จะต้องบันทึกบัญชีโดย เดบิต บัญชีกำไรขาดทุน เครดิต บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ ซึ่งจะเป็นบัญชีอะไรขึ้นอยู่กับว่ากิจการดำเนินกิจการในรูปแบบใด หากกิจการดำเนินกิจการในรูปแบบของเจ้าของคนเดียว ก็จะปิดบัญชีกำไรขาดทุนไปเข้าบัญชี ทุน-เจ้าของ แต่หากกิจการดำเนินกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วน ก็จะปิดไปเข้าบัญชี ทุน-ผู้เป็นหุ้นส่วน คนละเท่าไรก็แล้วแต่เงื่อนไข และหากกิจการดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด ก็จะปิดไปเข้าบัญชีกำไรสะสม
กิจการเป็นเจ้าของคนเดียว และมีกำไร
กำไรขาดทุน XX
ทุน – นาย ก. XX
กิจการเป็นห้างหุ้นส่วนและมีกำไร
กำไรขาดทุน XX
ทุน – นาย ก. XX
ทุน – นาย ข. XX
กิจการเป็นบริษัทจำกัดและมีกำไร
กำไรขาดทุน XX
กำไรสะสม XX
แต่หากผลการดำเนินงานของกิจการขาดทุน ยอดคงเหลือของบัญชี “กำไรสะสม” ก็จะอยู่ทางด้านเดบิต หากจะปิดบัญชี “กำไรขาดทุน” ก็จะต้องบันทึกบัญชีโดย เครดิต บัญชีกำไรขาดทุน และเดบิต บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ ซึ่งจะเป็นบัญชีอะไรขึ้นอยู่กับว่ากิจการดำเนินกิจการในรูปแบบใดเช่นกัน
กิจการเป็นเจ้าของคนเดียว และขาดทุน
ทุน – นาย ก. XX
กำไรขาดทุน XX
กิจการเป็นห้างหุ้นส่วนและขาดทุน
ทุน – นาย ก. XX
ทุน – นาย ข. XX
กำไรขาดทุน XX
กิจการเป็นบริษัทจำกัดและขาดทุน
กำไรสะสม XX
กำไรขาดทุน XX
ตัวอย่าง จากตัวอย่างข้างต้น พบว่าบัญชีกำไรขาดทุนมียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเครดิต 65,000บาท และกิจการเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว ดังนั้นในการปิดบัญชีกำไรขาดทุน จึงสามารถบันทึกบัญชีได้โดย
สมุดรายวันทั่วไป
|
หน้า 20
| ||||||
วันที่
|
รายการ
|
เลขที่บัญชี
|
เดบิต
|
เครดิต
| |||
2545
| |||||||
ธ.ค.
|
31
|
กำไรขาดทุน
|
300
|
65,000
|
-
| ||
ทุน – นาย ก.
|
301
|
65,000
|
-
| ||||
ปิดบัญชีกำไรขาดทุน
|
รายการที่ 4 การบันทึกรายการปิดบัญชี “ถอนใช้ส่วนตัว”
สำหรับกิจการที่เป็นกิจการเจ้าของคนเดียวแล้วนอกจากปิดบัญชีหมวดรายได้ ปิดบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย และปิดบัญชีกำไรขาดทุนแล้ว ยังจะต้องทำการปิดบัญชีอีกรายการหนึ่งนั่นคือบัญชี “ถอนใช้ส่วนตัว”
บัญชี “ถอนใช้ส่วนตัว” มียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเดบิต ดังนั้นในการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัว ก็จะทำการบันทึกบัญชีโดยเครดิตบัญชีถอนใช้ส่วนตัว เพื่อที่จะปิดบัญชีให้ยอดคงเหลือของบัญชีถอนใช้ส่วนตัวเป็นศูนย์ และจะปิดบัญชีหมวดรายได้ไปเข้าบัญชี “ทุน – เจ้าของ” ดังนั้นในการบันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัว จึงสามารถบันทึกบัญชีได้โดย
ทุน - เจ้าของ XX
ถอนใช้ส่วนตัว XX
ตัวอย่าง หากในงบทดลอง ปรากฏว่าบัญชีถอนใช้ส่วนตัวมียอดคงเหลือ 10,000 บาท การบันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป บันทึกได้โดย
สมุดรายวันทั่วไป
|
หน้า 20
| ||||||
วันที่
|
รายการ
|
เลขที่บัญชี
|
เดบิต
|
เครดิต
| |||
2545
| |||||||
ธ.ค.
|
31
|
ทุน – นาย ก.
|
301
|
10,000
|
-
| ||
ถอนใช้ส่วนตัว
|
302
|
10,000
|
-
| ||||
ปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น